มุมมีดกลึง

มุมมีดกลึง ของมีดกลึงจะมีวิธีลับมุมต่าง ๆ ที่คล้าย ๆ กันอย่างไรบ้าง 

การลับมีดกลึง นักเรียนต้องทำการจับมีดกลึงให้แน่นและเมื่อทำการเจียระไนมีดกลึงจะเกิดความร้อนขึ้น จึงควรที่จะเอามีดกลึงจุ่มน้ำหล่อเย็นเพื่อระบายความร้อน  มุมมีดกลึงของมีดและในการเจียรนัยลับมีดกลึงควรทำงานด้วยความประณีต และ สวมแว่นตา และการแต่งกายให้เหมาะสม พร้อมที่จะปฏิบัติงานทุกครั้ง ควรที่จะกดด้วยแรงที่พอเหมาะ ไม่ควรกดแรงเกินไป เพราะจะทำให้ผิวมีดไหม้เป็นสีดำ จะทำให้คมของมีดนั้นอ่อนไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งานเนื่องจากมีดจะสึกหรอ และมีอายุการใช้งานสั้นการเจียระไน มีดกลึงทุกครั้ง ยังต้องยืนในระยะที่เหมาะสมไม่ควรจะยืนชิด หรือห่างจากเครื่องเจียระไนเกินไป

การลับมุมต่าง ๆ ของมีดกลึงจะมีวิธีลับมุมต่าง ๆ ที่คล้าย ๆ กันอย่างไรบ้าง 

ความแตกต่างกันตรงรูปร่างและมุมที่ต้องการเท่านั้น ในการลับมีดกลึงปาดหน้า หรือ มีดกลึงปอก มีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ลับมุมคมตัด  
  2. ลับมุมหลบ  
  3. ลับมุมคาย  

ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลงซึ่งมีวิธีการลับ

  • ขั้นตอนที่ 1  การลับคมตัดพร้อมทั้งลับมุมหลบข้าง
  • ขั้นตอนที่ 2  การลับมุมหลบปลายมีดพร้อมทั้งลับมุมหลบข้าง
  • ขั้นตอนที่ 3  การลับมุมคาย

มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้

  • มุมเอียงคมตัด  เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน
  • มุมหลบปลายมีด  เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน
  • มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้
  • มุมรวมปลายมีด  เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด
  • มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก  ส่วนมุมคายบน คือมุมคายที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด  เป็นต้น

ประโยชน์ของเครื่องเจียระไนลับคมตัด

เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรง ประหยัดเวลา สามารถใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น

  1. ใช้ลับคมตัดต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น ลับมีดกลึง ลับมีดไส ลับคมสกัด และลับคมมีดทั่วไป
  2. ใช้เจียระไนส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รอยเชื่อม รอยเยิน ผิวชิ้นงานที่ไม่เรียบ
  3. เครื่องเจียระไนบางเครื่องอาจดัดแปลงเป็นเครื่องขัดผิวชิ้นงาน เช่น ขัดผิวชิ้นงานชุบเคลือบผิวโครเมียม โดยเปลี่ยนล้อหินเป็นล้อขดลวดหรือผ้าขัด

ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไน

ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเจียระไนก่อนเปิดเครื่องใช้งานทุกครั้ง เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ล้อหินเจียระไน ฝาครอบล้อหินเจียระไน ฯลฯ เป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานและมีความปลอดภัยหรือไม่

  1. การแต่งกายต้องรัดกุม ไม่รุ่มร่าม ไม่ผูกเน็กไท ผมไม่ยาวรุงรัง
  2. ต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
  3. จะต้องมีกระจกนิรภัยและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา
  4. ต้องปรับระยะห่างแท่นรองรับงานให้อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 3 มม. ป้องกันชิ้นงานหลุดเข้าไปขัดกับล้อหินเจียระไน ล้อหินเจียระไนอาจจะแตกกระเด็นโดยผู้ปฏิบัติงานได้
  5. เมื่อล้อหินเจียระไนทื่อหรือเกิดรอยบิ่น จะต้องทำการแต่งหน้าล้อหินเจียระไนใหม่ มิฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องออกแรงกดชิ้นงานที่นำมาลับมากเพราะหินทื่อ อาจจะทำให้พลาดไปโดนล้อหินเจียระไน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  6. ห้ามใช้ผ้าจับเครื่องมือตัดหรือชิ้นงานที่นำมาเจียระไน เพราะผ้าอาจจะติดเข้าไปในล้อหินเจียระไนที่กำลังหมุน และทำให้มือติดเข้าไปด้วยทำให้เกิดอันตรายได้
  7. ในขณะเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องเจียระไนเพื่อปฏิบัติงานจะต้องระมัดระวังไม่ยืนตรงกับล้อหินเจียระไน เพราะในช่วงที่เริ่มเปิดเครื่องใหม่ ๆ ล้อหินเจียระไนจะมีแรงเหวี่ยงมาก ถ้าล้อหินเจียระไนเกิดรอยแตกร้าวอยู่ก่อนอาจกระเด็นออกมาถูกผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  8. เครื่องเจียระไนทุกเครื่องจะต้องมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ปฏิบัติงาน
Author: calibration