หน้ากากเชื่อม

หน้ากากเชื่อม มีกี่ประเภท เลือกอย่างไรให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด

หน้ากากเชื่อม เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับป้องกันที่มีความจำเป็นอย่างมากในการทำงาน  ใช้สำหรับป้องกันใบหน้าและศีรษะ จากกลิ่น ฝุ่น ควันไฟ ความร้อน สารเคมีและสะเก็ดไฟจากงานเชื่อมไฟฟ้า ฯลฯ  โดยมีการออกแบบมาให้มีรูป แบบทันสมัย แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายและปรับขนาดให้กระชับได้ตามความต้องการ มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ตัวหน้ากากผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อความร้อน รองรับแรงกระแทกได้ดี สามารถป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตและรังสีอินฟาเรดได้ และกระจกเลนส์ สามารถปิดเปิดและปรับระดับความเข้มแสงได้อัตโนมัติ จึงถือเป็นอุปกรณ์ ที่เหมาะนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้างและงานช่างมืออาชีพทั่วไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มระสิทธิภาพในการทำงานและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายผู้ใช้ระหว่างทำงานได้เป็นอย่างดี capitallaboratory

ประเภทของหน้ากากเชื่อม

ประเภทของหน้ากากเชื่อม สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

หน้ากากเชื่อมแบบมือถือ

หน้ากากเชื่อมแบบมือถือ เป็นรูปแบบมาตรฐานทั่วไปที่โครงสร้างมีลักษณะโค้งตามรูปทรงของใบหน้า มีกระจกเลนส์กรองแสงระหว่างตากับจมูก พร้อมกับด้ามจับที่อยู่ด้านในหน้ากาก ซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลายสีหลายแบบตามความถนัดของผู้ใช้ ส่วนใหญ่ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาสและพลาสติกพอลิโพรไพลีนชนิดพิเศษไม่ติดไฟ มีน้ำหนักเบา แข็งแรง จับสะดวกไม่ร้อนมือ และใช้งานง่ายในลักษณะแบบมือถือจับเข้ากับด้ามจับที่อยู่ภายในหน้ากากและในระหว่างทำงานสามารถยกเปิด-ปิดเลนส์ปรับแสงในระหว่างเชื่อมชิ้นงานต่าง ๆ ได้ ทำให้ป้องกันดวงตาจากงานเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาใช้ป้องกันสะเก็ดไฟจากงานเชื่อมหรืองานตัดพลาสม่า เป็นต้น

หน้ากากเชื่อมแบบสวมหัว

หน้ากากเชื่อมแบบสวมหัว เป็นรูปแบบมาตรฐานทั่วไปที่โครงสร้างของหน้ากากออกแบบมาสำหรับใส่สวมหัวเพื่อป้องกันดวงตาและใบหน้าจากสะเก็ดไฟและรังสีที่เป็นอันตราย ตัวหน้ากากผลิตจากวัสดุพลาสติกพอลิโพรไพลีน (PP) ที่มีความเหนียว ทนทานต่อความร้อนได้ดี ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย ส่วนด้านในจะประกอบด้วยอุปกรณ์สายรัด น๊อตล็อก กระจกเลนส์มีฝาเปิด-ปิดด้านหน้า ใช้งานสะดวกในลักษณะใส่สวมหัวแล้วปรับหมุนสายรัดให้พอดีกับขนาดศีรษะของผู้ใช้งานก็จะช่วยป้องกันแสงระหว่างดวงตากับจมูกทำให้มองเห็นชิ้นงานได้ชัดเจนซึ่งเหมาะสำหรับงานเชื่อมอาร์คหรืองานตัดพลาสม่า เป็นต้น

หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติ

หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติ มีการออกแบบโครงสร้างมาให้มีความปลอดภัยและทันสมัยง่ายต่อการใช้งานสำหรับช่างเชื่อม มีรูปทรงคล้ายหมวกกันน็อค ตัวหน้ากากผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนต่ออุณหภูมิสูงและการกัดกร่อนได้ดี ส่วนด้านในหน้ากากสามารถควบคุมการปรับแสงที่เกิดจากงานเชื่อมได้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยจะมีปุ่มปรับหน่วงเวลาและปุ่มเซนเซอร์ปรับแสงติดตั้งเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมกับกระจกเลนส์เป็นจอแสดงผลแอลซีดีขนาดต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับระดับความเข้มของแสงได้ตามความต้องการ ทำงานอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังแบตเตอรี่ หรือสามารถใช้ได้ทั้งสองพลังงาน จึงทำให้สามารถเชื่อมงานได้อย่างต่อเนื่องและมองเห็นชิ้นงานได้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม เหมาะนำมาใช้สำหรับงานเชื่อมที่มีแสงรบกวนตลอดเวลาโดยไม่ต้องถอดหน้ากาก เช่นงานเชื่อมอาร์กอน TIG งานเชื่อมMIG งานตัดพลาสม่า และงานเจียรเหล็ก เป็นต้น

หน้ากากเชื่อมแบบหนัง

หน้ากากเชื่อมแบบหนัง ถูกออกแบบมาใช้สำหรับคลุมศีรษะเพื่อป้องกันสะเก็ดไฟ ฝุ่นละออง กลิ่นควันและรังสียูวีจากการเชื่อมชิ้นงานตัวหน้ากากผลิตมาจากหนังวัว มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวกและยังสามารถพับจัดเก็บง่าย ส่วนด้านในมีสายรัดศีรษะพร้อมกับกระจกเลนส์กรองแสงด้านหน้าที่ปิด-เปิดได้ ทำงานอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ลิเธียมทำให้สามารถเปิดดูแนวเชื่อมได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่คับแคบหรืออับชื้นได้ดี เช่นงานเชื่อมอาร์กอน TIG งานเชื่อมMIG งานพ่นทราย เป็นต้น

สิ่งที่ควรพิจารณาหน้ากากเชื่อม

1.ความเข้มของเลนส์เชื่อม

ความเข้มของเลนส์เชื่อมแบบฟิกคือจะมีความเข้มแค่ระดับ 10 เพียงระดับเดียวซึ่งจะทำให้แบบนี้มีราคาที่ถูกลงมามากกว่าที่สามารถปรับระดับความเข้มได้หลายระดับตามความเข้มแสงที่ได้จากการเชื่อม ซึ่งแบบที่สามารถเลือกความเข้มของเลนส์เชื่อมได้หลาบรูปแบบ และหลายระดับนั้นจะช่วยให้คุณสามารถใช้งานได้เหมาะกับงานที่หลากหลายมากกว่าและ มีความสะดวกมากกว่า ได้งานที่ออกมาดีกว่าแบบไม่สามารถปรับความเข้ม หรือแบบฟิกได้

2.ขนาดพื้นที่สำหรับการมองเห็น

พื้นที่ในการมองเห็นขึ้นอยู่กับขนาดของเลนส์เชื่อมยิ่งมีพื้นที่ในการมองเห็นมากก็จะได้งานที่มีความละเอียดมากกว่า เพราะว่าคุณสามารถเห็นชิ้นงานได้ชัดเจน โดยทั่วไปแล้วเลนส์เชื่อมจะมีขนาดตั้งแต่ 6-9 ตารางนิ้ว ซึ่งยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่ราคาก็จะขยับตามไปด้วย ดังนั้นควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงบประมาณของคุณด้วย

3.ความเร็วในการตอบสนองการทำงานของเลนส์

คือเวลาที่เลนส์ใช้ในการเปลี่ยนความเข้มของเลนส์จากความเข้มปกติไปเป็นความเข้มที่สามารถป้องกันแสงจากการเชื่อม โดยจะเปลี่ยนจากความเข้มระดับ 3-4 ไปเป็นความเข้มระดับ 10 หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่เกิดขึ้นโดยจะมีตั้งแต่ 1/3600 วินาที ไปจนถึง 1/20000 วินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งมากยิ่งดี เพราะนั่นแสดงว่าตัวเลนส์สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว

4.เซ็นเซอร์สำหรับรับแสง

เซ็นเซอร์นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยสั่งให้เลนส์เชื่อมทำงานในหน้ากากเชื่อมแบบทั่วไปนั้นจะมีตัวเซ็นเซอร์แสง 2 ตัวเพื่อให้เลนส์กรองแสงสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่ในอุปกรณ์ที่ดีราคาแพงที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นจะมีเซ็นเซอร์มาให้ถึง 4 ตัว เพื่อความครอบคลุมในการใช้งานหลาย ๆ ทิศทางในการเชื่อม

5.ระบบควบคุมความไวในการทำงานของเลนส์เชื่อม

ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานหรือผู้เชื่อมสามารถปรับระดับความไวดังกล่าวให้เหมาะสมกับการเชื่อมแต่ละแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องการความไวในการทำงานของเลนส์ที่แตกต่างกันนั่นเอง

6.น้ำหนัก และ การปรับแต่ง

หน้ากากเชื่อมที่ดีต้องมีน้ำหนักบาเพราะถ้ามีน้ำหนักมากจะทำให้คุณล้าจากการทำงานมากกว่าปกติในกรณีที่ต้องเชื่อมนาน ๆ และระบบสายในการยึดหน้ากากกับหัวนั้นควรเลือกที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัด และงานเชื่อมออกมาได้ไม่ดี ดังนั้นก่อนซื้อได้ลองสวมก่อนจะดีมากเลยทีเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าหน้ากากเชื่อมนี้เหมาะสำหรับคุณ

Author: calibration